หน้าเว็บ

24 กรกฎาคม 2555

กำลังใจ..อันแน่วแน่..will be...

   เคยหรือไม่ที่เราเคยมั่นใจว่าสิ่งที่เราทำจะสำเร็จ  แล้วความสำเร็จก็เป็นของคุณจริง ๆ  หรือคุณตัดสินใจเลือกคำตอบจากความรู้สึกแล้วกลายเป็นคำตอบที่ถูกสำหรับการทำข้อสอบนั้น ๆ  คุณอาจจะคิดว่าช่างโชคดีจริง ๆ หรือเป็นเพราะความฟลุ๊ค  แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึกของเราที่สั่งสมความมั่นใจ ความคุ้นเคย ความเป็นไปได้ให้เกิดขึ้นซึ่งเชื่อมโยงกับความเชื่ออย่างแน่วแน่..  ออกมาเป็นผลลัพท์นี้   
          ความเชื่อและความศรัทธาสามารถนำมาซึ่งสิ่งที่คุณต้องการได้  ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จที่คุณหวังไว้ในเรื่องใด ๆ ก็ตาม  แต่ความเชื่อกับความศรัทธาก็มีข้อแตกต่างกันอยู่  ซึ่งยังส่งผลที่ตามมาจากความเชื่อและความศรัทธาเกิดต่างกันด้วย  หากคุณมีความเชื่อผลลัพท์อาจจะเกิดตามความคาดหมายหรือไม่ก็ยังคงต้องคอยลุ้นกันต่อไป  แต่หากคุณศรัทธาอย่างไม่มีอะไรเคลือบแคลงใจเชื่อมั่นได้เลยว่าผลลัพท์ที่ได้จะเป็นไปอย่างที่คุณต้องการให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ศรัทธา...และความเชื่อ belife and faith.

ความเชื่อและความศรัทธาเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งของมนุษย์...มักเกิดขึ้นกับใครซักคน..พร้อมๆกันทั้งสองความรู้สึก..และตามมาด้วยกำลังใจที่จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนๆนั้นทำในสิ่งที่หลายคนทำไม่ได้...       หลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักความจริงที่พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบโดยมิได้ทรงสร้างสรรค์ขึ้นเอง และมิได้ทรงรับคำสั่งสอนมาจากเทพเจ้าหรือพระเจ้าองค์ใดทั้งสิ้นดังที่กล่าวแล้วนั้นพระพุทธศาสนาจึงนับว่าเป็นศาสนาที่ต่างไปจากศาสนาอื่นๆอยู่มาก
          หลักคำสอนที่สนับสนุนความจริงดังกล่าวนี้ คือ หลักคำสอนเรื่อ  ศรัทธาและปัญญา
ศรัทธา  คือ  ความเชื่อ  ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาหรือเหตุผล ซึ่งเรียกว่า ศรัทธาเพื่อปัญญา แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงสอนให้คนมีศรัทธา แต่ศรัทธาของพระองค์นั้นต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาให้รอบคอบเสียก่อน ดังที่ ทรงสอนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม  ในแคว้นโกศล ว่า
           อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพียงเพราะฟังตามๆกันมา เพียงเพราะถือปฏิบัติกันสืบๆมา เพียงเพราะข่าวเล่าลือ เพียงเพราะการอ่านตำราหรือคัมภีร์ เพียงเพราะการให้เหตุผลแบบตรรกะ เพียงเพราะการอนุมานเอาตามอาการที่ปรากฏ เพียงเพราะเห็นว่าเข้ากันได้ตรงตามทฤษฎีหรือความคิดเห็นของตน เพียงเพราะเห็นว่ามีรูปลักษณะน่าเชื่อถือ และเพียงเพราะถือว่าสมณะหรือนักบวชผู้นี้เป็นครูของเรา
            แต่เมื่อใดได้ใช้ปัญญาพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว และเห็นว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน อีกทั้งนักปราชญ์ไม่ติเตียน ก็จงทำสิ่งนั้น แต่หากสิ่งใดเมื่อทำลงไปแล้วตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน นักปราชญ์ติเตียน ก็จงอย่าได้ทำสิ่งนั้นเลย
            หลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ หากทรงสอนเรื่องศรัทธาไว้ในที่ใด ก็จะทรงสอนปัญญากำกับไว้ในที่นั้นด้วย นั่นก็หมายความว่า ทรงสอนให้ใช้ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาเสมอไป
             ตัวอย่างเช่น ในหลักคำสอนหมวด พละ 5 ( ธรรมอันเป็นกำลัง ) ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หรือใน อริยทรัพย์ 7 ( ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ ) ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล หิริ  โอตตัปปะ  พหุสัจจะ จาคะ และปัญญา
             จะเห็นว่า  ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องมีปัญญากำกับด้วยเสมอ ซึ่งต่างจากศาสนาอื่นบางศาสนาที่จะสอนให้ศรัทธาอย่างเดียว คือ ถ้าพระคัมภีร์สอนไว้อย่างนี้ ก็จะต้องเชื่อตามโดยไม่มีข้อแม้ ถ้าหากไม่เชื่อถือว่าเป็นคนบาป    แต่สำหรับพระพุทธศาสนา    แม้แต่การสอนหลักธรรมของพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงบังคับให้เชื่อตามที่พระองค์สอน พระองค์ทรงแนะนำให้พิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผลและเห็นด้วยเสียก่อนแล้วจึงเชื่อ
 การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
         ศรัทธาในกระบวนการพัฒนาตามหลักพระพุทธศาสนานั้น  หมายถึง  ความเชื่อมั่น ความซาบซึ้ง  ด้วยความมั่นใจในเหตุผลเท่าที่ตนสามารถพิจารณาเห็นได้ โดยมีเหตุผลว่า จุดหมายหรือเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้านั้นเป็นไปได้จริงและมีคุณค่าควรที่จะไปให้ถึง ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบมอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา   แบ่งออกเป็น   4   ประการ  คือ
1.    ความเชื่อมั่นในศักยภาพในการเข้าถึงอิสรภาพที่แท้จริงของมนุษย์ ( ตถาคตโพธิสัทธา )
2.    ความเชื่อมั่นในกฎการกระทำ  ( กัมมสัทธา )
3.    ความเชื่อมั่นในผลของการกระทำ (  วิปากสัทธา )
4.    ความเชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น                          ( กัมมัสสกตาสัทธา )
           ปัญญา  หมายถึง  ความรู้  หรือความหยั่งรู้เหตุผล  ปัญญาที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนามีลักษณะ  3  ประการ  คือ
1.      ความรู้จักเหตุแห่งความเสื่อมและโทษของความเสื่อม ( อปายโกศล )
2.      ความรู้จักเหตุแห่งความเจริญและประโยชน์ของความเจริญ ( อายโกศล )
3.      ความรู้จักวิธีการละเหตุแห่งความเสื่อมและวิธีการสร้างเหตุแห่งความเจริญ ( อุปายโกศล )
           จากการที่พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น      
 พระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผล หรือเป็นศาสนาแห่งปัญญา ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตนพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ


ความเชื่อ...faith

ความเชื่อ คือการยอมรับอันเกิดอยู่ในจิตสำนึกของมนุษย์ ต่อพลังอำนาจเหนือ ธรรมชาติ ความเชื่อเป็นธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกรูปทุกนาม สิ่งที่มนุษย์ได้ สัมผัสทางใดทางหนึ่งจากอายตนะทั้ง ๖ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) เป็นต้นเหตุของ ความเชื่ออันเป็นสัญญเจตนา เมื่อเกิดการเพาะบ่มความเชื่อโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ได้สัมผัสเป็นประจำ เป็นเครื่องช่วยให้ความเชื่อเจริญเติบโต จึงเกิดรูปเกิดสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเกิดความเชื่อในรูปแบบความเชื่อที่เป็นรูปธรรม และความเชื่อที่เป็นนามธรรม
ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงความเชื่อไว้ว่า ศรัทธา(น.) ความเชื่อ ความเลื่อมใส(ส.) รศ. ภิญโญ จิตต์ธรรม กล่าวว่า ? ความกลัว แลความไม่รู้เป็นเหตุให้เกิดความเชื่อ และความเชื่อก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดศาสนา ? วัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนาคือ แนวทางการประพฤติปฏิบัติตามหลักการ และ คำสั่งสอนของศาสนานั้น ๆ เพื่อหวังความสุขแก่ตน
ความเชื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ทั้งด้านดีและด้านร้ายธรรมดาคนเราจะมีความเชื่อและความไม่เชื่อเป็นของคู่ กัน คือระหว่างความศรัทธา และไม่ศรัทธา คนที่มีจลศรัทธา กับ อจลศรัทธา คือศรัทธาที่หวั่นไหวและศรัทธาที่ มั่นคงไม่หวั่นไหว ดังนั้น การจะกำหนดให้แต่ละบุคคลเชื่ออย่างเดียวกันย่อมทำได้ยาก เพราะความเชื่อที่ให้ผลตรงกันข้ามก็มี และความไม่เชื่อ เกิดผลไปอีกแนวหนึ่งก็มี
ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
ความเชื่อ
ความไม่เชื่อ
ความเชื่อแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ เชื่ออย่างมีเหตุผล และเชื่ออย่างไม่มีเหตุผล ความไม่เชื่อได้แก่การปฏิเสธ หรือมีความเห็นเป็นอื่น อันขัดต่อเหตุผลของความเป็นจริงในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวความเชื่อไว้ ๔ อย่างคือ
กรรมศรัทธา -> เชื่อกรรม
วิบากศรัทธา -> เชื่อผลกรรม
กรรมมัสถตาศรัทธา -> เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน
ตถาคตโพธิศรัทธา -> เชื่อในความรู้ของพระตถาคตคือพระพุทธเจ้า
ความเชื่อ ๑๐ ประการ ในกาลามสูตร
ไม่ควรเชื่อตามตำรา
ไม่ควรเชื่อตามที่ได้ยินมา
ไม่ควรเชื่อเรื่องที่เล่าสืบ ๆ กันมา
ไม่ควรเชื่อตามครูบาอาจารย์
ไม่ควรเชื่อคนที่เป็นครูเล่าให้ฟัง
ไม่ควรเชื่อมงคลตื่นข่าว
ไม่ควรเชื่อเมื่อมีอามิส (สินจ้างรางวัล) ล่อให้เชื่อ
ไม่ควรเชื่อที่เขาแนะนำให้เชื่อ
ไม่ควรเชื่อโดยเขาบังคับให้เชื่อ
ไม่ควรเชื่อที่เขาอ้างเหตุให้เชื่อ
พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนา ให้เชื่อด้วยศรัทธาและปัญญาของตน จะเป็นจลศรัทธา ความเชื่อไม่คลอนแคลน ความเชื่อในโลกุตตรธรรม เป็นความเชื่ออันยอดเยี่ยมเพราะจะนำบุคคลผู้เชื่อให้เข้าถึงนวโลกุตตรธรรม คือ มรรค ผล และ นิพพาน อันเป็นความเชื่อชั้นสูงสุด นับเนื่องในตถาคตโพธิศรัทธา ความเชื่อในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความเชื่อนับเป็นพื้นฐานแห่งการนับถือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ และศาสนาอันก่อให้เกิด ประโยชน์ ดังนี้
ความเชื่อทำให้เกิดความมั่นใจ
ความเชื่อทำให้เกิดพลัง
ความเชื่อทำให้เกิดความสามัคคี
ความเชื่อทำให้เกิดสร้างสรรค์
ความเชื่อทำให้เกิดรูปธรรม
ความเชื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา
ความเชื่อทำให้เกิดการนับถือศาสนาอย่างมั่นคง
ความเชื่อทำให้เกิดฤทธิ์ทางใจ
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมักเกิดขึ้นจากความคิดคำนึงว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนั้นไม่ดี จะต้องส่งผลกระทบเช่นนั้น เป็นเช่นนี้ ความเชื่อที่ปรากฏเป็นข้อห้ามคำสอนของ โบราณ ย่อมเป็นสิ่งท้าทายต่อดวงปัญญาของมนุษย์ผู้นำสมัยอย่างยิ่ง หากศึกษาให้ ถ่องแท้ จะทราบถึงเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษว่า ข้อห้ามคำสอนนั้นทรงคุณค่าต่อ สังคมเพียงใด
กราบขอบพระคุณ..เจ้าของบทความเดิม  พระอาจารย์ศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ
๑๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

พลังพุทธคุณ..จากงา

งา หรือฟัน หรือ เขี้ยว ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นั้นนิยมมาทำเครื่องประดับและเครื่องรางมานานนับตั้งแต่มนุษย์เริ่มรูกจักล่าสัตว์มาเป็นอาหารแล้ว งามีสีนวลสวยและง่ายต่อการแกะสลัก อีกทั้งยังมีความทนทาน แม้จะมีความแข็งอยู่ในระดับ 2.5 ก็ตาม ปัจจุบันช้างถูกประกาศให้เป็นสัตว์คุ้มครองอีกทั้งยังมีการรณรงค์ ไม่ให้มนุษย์ฆ่าช้างเพียงเพื่อนำงามาทำเป็นเครื่องประดับ
ความเชื่อเกี่ยวกับงา
            งาเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธ์และเป็นมงคล จึงมักจะนำงาช้างคู่ขนาดใหญ่มาประดับโต๊ะหมู่บูชาเพื่อพุทธบูชา งายังมีความหมายถึงพลังอำนาจเพิ่มขึ้นในตัวของผู้ที่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ ช่วยให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรค และมีชัยเหนือศัตรู
            วิธีรับพลังจากงา สวมเครื่องประดับที่ทำจากงา หรือพกพางาแกะสลักในรูปของเครื่องราง หรือแกะสลักเป็นพระรูปแบบต่างๆ  แกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆที่สื่อถึงพลัง อำนาจในตัว  แต่ในปัจจุบันไม่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เพราะกระแสต่อต้านของผู้รักช้างมีค่อนข้างมาก เว้นแต่ใครที่มีงาเก่าเก็บสะสม หรือเป็นงากะเด็นที่ได้มาจากช้างที่งาหักเองตามธรรมชาติ  ซึ่งก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคล

พระพุทธรูปแกะสลักจากงาช้าง





แหวนงาแตกลายงาสวยงาม

สร้อยทำจากงาช้าง



กำไลทำจากงาช้าง


วิธีจับพลังพุทธคุณ

วิธีจับพลังพระแบบง่าย...
เวลาเราเช่าพระเครื่องมาบูชา มักสงสัยว่า มีพุทธคุณอยู่ในพระเครื่องนั้นหรือไม่ วิธีทดสอบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องไปให้ผู้อื่นที่คิดว่ามีพลังจิตทดสอบให้ มีดังนี้
1. เหยียดนิ้วหัวแม่โป้งมือขวาและนิ้วกลางมือขวาให้ห่างกันมากที่สุด แล้วคงระยะห่างไว้อย่างนั้น
2. หงายฝ่ามือซ้ายขึ้น แล้วนำระยะห่างที่ได้ดังกล่าวในข้อ1. มาทาบบนปลายนิ้วกลางของมือซ้าย เดินระยะห่างดังกล่าวไปทางต้นแขนซ้าย 2 ช่วงระยะห่าง เอาปากกาลูกลื่นกดเป็นจุดหมึก ทำเป็นเครื่องหมายไว้
3. ปล่อยมือทั้งสองข้างให้เป็นอิสระ ผ่อนคลาย ทำจิตใจให้สบาย แล้วพนมมือขึ้นโดยมีพระเครื่องอยู่ในมือ อธิษฐานจิต" ขออนุญาตทดสอบพุทธคุณ "
4. หงายมือซ้ายขึ้น แล้ววางพระเครื่องไว้ในฝ่ามือซ้าย มือขวาทำระยะห่างดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ1. วางบนปลายนิ้วกลางของมือซ้าย เดินระยะห่างดังกล่าวไปทางต้นแขนซ้าย 2 ช่วงระยะ
5. หากผลลัพธ์ที่ได้ เลยจุดหมึก แสดงว่า " พระเครื่องนั้นมีพุทธคุณ "
อยากพิสูจน์ดู ต้องลองทำเดี๋ยวนี้เลย






















แต่จงพึงระลึกอยู่ในใจไว้เสมอว่า...

1. ให้ศึกษาเพื่อเพิ่มความมั่นใจในพระบารมีของพระพุทธองค์ หาใช่ศึกษาเพื่อ
·    โอ้อวดความสามารถ
·    ยึดติดหลงไหลลุ่มหลง หลงทางในวัตถุ ยึดติดไม่ปล่อยวาง
·    เพื่อสะสมวัตถุ สะสมกิเลสความโลภไม่รู้จักพอเพียง มิได้ใฝ่ในการสะสมคุณธรรมความดีเป็นเรื่องหลัก
2. เมื่อมั่นใจแล้วให้ค้นหาพระแท้ พระที่เก่าที่สุด คือพระพุทธองค์ และให้มุ่งศึกษาในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงอุตสาห์สั่งสมพระบารมีจนนับเวลามิถ้วน เพื่อสิ่งนั้น คือ ธรรมคำสั่งสอนที่จะนำพาเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ จึงชื่อว่าพบพระแท้ พบพระดีที่แท้จริง
3. เมื่อพบพระแท้แล้วให้
ทำตัวของเราให้เป็นพระ เราคล้องพระ อย่าให้พระท่านเสียพระเกียติ์ได้ ให้ทำตัวให้สมควรอันสิ่งมงคลยิ่ง
4. ให้ตระหนักว่า
วัตถุใด ๆมิสามารถนำพาเราข้ามพ้นกองทุกข์ได้แท้จริง ต่อให้จับพลังพระได้ มีพระเครื่องดี ๆเป็นหมื่น ๆองค์คล้องติดตัว แต่ใจเรายังเข้าไม่ถึงพระ ใจเรายังไม่เป็นพระแล้ว .....เราก็ยังไม่พ้นทุกขติภูมิไปได้ วัตถุเป็นเพียงกุศโลบายให้เขาใจเข้าถึงในธรรมความดีเท่านั้น หากแต่การปฏิบัติตามแนวทางอันถูกต้องดีงามโดยยึดหลักแห่งมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฐิ สัมมากัมมัญตะ เป็นต้น..เราย่อมประสบพบหนทางแห่งสุขคติภูมิเป็นแน่...การจับพลังพระแบบต่าง ๆ
เสนอมาให้อ่านคร่าว ๆเพื่อประดับปัญญา และจะได้เชื่อมโยงเข้าสู่กรรมฐานทั้ง 40 กองได้ เพราะจริง ๆแล้ว หากฉลาดในการปฏิบัติ ให้วิเคราะห์วิชาต่าง ๆแล้วเชื่อมโยงจุดเชื่อมต่าง ๆเข้าสู่กรรมฐาน 40 การปฏิบัติจะก้าวหน้า ไม่นอกลู่ทางอันสู่ความพ้นทุกข์ และจะได้ไม่หลงทางหรือเชื่อหรือปฏิเสธอะไรโดยขาดหลักกาลามสูตร..นั่นคือการเชื่อและศรัทธาอย่างมีปัญญาพิจารณาใคร่ครวญก่อน...เสมอ

ความเชื่อ..กับการปลูกไม้มงคล

ไม้มงคลในร่ม...ที่ควรหามาปลูก
   เชื่อว่าทุกๆคนที่มีบ้าน..ย่อมต้องการให้คนที่อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นๆมีความสุข ร่มเย็น
นอกจากความรักใคร่สมัครสมานสามัคคีของทุกคนภายในบ้านแล้ว..ความเชื่อเรื่องการปลูกไม้อันเป็นมงคลภายในบริเวณที่พักอาศัยก็อยู่ในความคิดของใครหลายๆคน..วันนี้จึงนำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝาก..เผื่อใครที่กำลังคิดหาไม้มงคลมาปลูกที่บ้านจะนำไปซื้อมาปลูกตาม...
ก็ขอให้เลือกได้ตามอัธยาศัยเลยนะครับ..หรือจะหาให้ครบเลยก็..เยี่ยมไปเลยครับผม..

๑. หมากเหลือง (yellow plam)พันธุ์ไม้ประเภทปาล์ม ที่เติบโตได้ง่ายในที่ร่ม มีความสวย งามสง่า คุณสมบัติส่วนตัวของหมากเหลือง คือ การคายไอน้ำเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับห้อง หมากเหลืองที่มีขนาดสูง 1.8 เมตร จะคายน้ำประมาณ 1 ลิตรใน 1 วัน และช่วยฟอกอากาศที่เป็นพิษ โดยการดูดซึมสารพิษที่แทรกตัวอยู่ในอากาศภายในห้อง ด้วยเหตุนี้หมากเหลืองจึงเป็นไม้ในร่มที่นิยมกันมานาน แถมสนนราคายังย่อมเยาอีกด้วย




๒. เดหลี (Spathiphyllum)
พันธุ์ไม้ในร่มที่มีใบสีเขียวเข้มเป็นมันเงาสวยงาม มีดอกสีขาวเด่นตั้งตรงคล้ายดอกหน้าวัว เดหลีจะคายน้ำปริมาณมาก ทำให้ห้องของคุณสดชื่นอยู่เสมอ




๓. ฟิโลเดนดรอน (Philodendron) พันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพกึ่งร่ม ดังนั้นจึงไม่ควรปลูกไว้ในที่ที่ห่างไกลจากแสงแดดจนเกินไป ใบของฟิโลเดนดรอนยังสามารถที่จะนำมาปักแจกันแต่งบ้านได้อีกด้วย




๔. เฟิร์น (Fern)
พันธุ์ไม้ที่ได้รับความนิยมในการตกแต่งบ้าน เนื่องจากสามารถซื้อหาได้ง่าย และไม่ยุ่งยากในการตกแต่ง ใบสีเขียวอ่อนเรียวยาวกระจายเป็นพุ่มให้ความรู้สึกชุ่มชื้นสบายตา เฟิร์น สามารถซึมซับสารพิษในอากาศ และสามารถคายน้ำได้ในปริมาณที่สูง




๕. เสน่ห์จันทร์ (Homalomena)พันธุ์ไม้ในร่มที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจสีเขียวอวบอิ่มให้ความรู้สึกสดชื่น
และแข็งแรง  ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร

 


๖. วาสนา (Com plant, Dracaena)พันธ์ไม้ในบ้านที่นิยมกันมากชนิดหนึ่ง วาสนาแตกใบแน่นเป็นพุ่มที่ยอด เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วลำต้นของวาสนาจะมีลักษณะแข็ง บางครั้งวาสนาจะแทงช่อออกดอกบริเวณยอด ดอกวาสนาจะมีสีขาวเล็ก ๆ แต่กลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการดูดซึมสารพิษในอากาศ



๗. ไทร (Ficus benjamina)
พันธุ์ไม้ที่สามารถปล่อยให้เติบโตได้เองตามธรรมชาติ และจัดตกแต่งกิ่งใบให้อยู่ในรูปทรงที่ต้องการได้ ไทรมีใบสีเขียวเข้มขนาดเล็กเป็นพุ่มสะดุดตาให้ความรู้สึกสดชื่นและมั่นคง

 


๘. เงินไหลมา (Arrowhead Vine)
พันธุ์ไม้ที่เติบโตได้เร็ว มีการแตกเป็นพุ่มของใบที่สวยงาม และดูแลรักษาง่ายเป็นที่นิยมในการแต่งบ้าน มี 30 สายพันธ์ แต่ละพันธ์มีความต่างกันที่สีและใบ สามารถสร้างสรรค์การแต่งบ้านได้อย่างหลากหลาย




๙. พลูด่าง (Ivy-Arum, Devil-Ivy)
พันธุ์ไม้เลื้อยในร่มยอดนิยมอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะใบคล้ายรูปหัวใจแต้มด้วยสีเหลืองทองด่าง ง่ายต่อการดูแลรักษา เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ทนทุกสภาพแวดล้อม

 

ทุกๆพันธุ์ไม้มงคลนาม..
ใครก็ตามปลูกไว้ย่อมเกิดผล..
ร่มรื่นร่มเย็น..แก่เรือนชานบ้านของตน...
เก้าพันธุ์ไม้..นามมงคล..ปลูกไว้..ในบ้านเอย...

หากทุกพันธุ์ไม้..ไม่ว่าต้นเล็กหรือใหญ่..เราทุกคนใส่ใจดูแลเหมือนความรู้สึกแรกที่เราเจอเขา..
อยากได้เขามาปลูกที่บ้าน ด้วยความเชื่อที่ว่า..ปลูกแล้วจะเกิดความเป็นศิริมงคล
ใส่ใจรดน้ำ บำรุงดิน ดูแล..มงคลย่อมเกิดขึ้นตามที่คุณเชื่อและศรัทธา..คุณว่ามั๊ย??