ความเชื่อ คือการยอมรับอันเกิดอยู่ในจิตสำนึกของมนุษย์ ต่อพลังอำนาจเหนือ ธรรมชาติ ความเชื่อเป็นธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกรูปทุกนาม สิ่งที่มนุษย์ได้ สัมผัสทางใดทางหนึ่งจากอายตนะทั้ง ๖ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) เป็นต้นเหตุของ ความเชื่ออันเป็นสัญญเจตนา เมื่อเกิดการเพาะบ่มความเชื่อโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ได้สัมผัสเป็นประจำ เป็นเครื่องช่วยให้ความเชื่อเจริญเติบโต จึงเกิดรูปเกิดสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเกิดความเชื่อในรูปแบบความเชื่อที่เป็นรูปธรรม และความเชื่อที่เป็นนามธรรม
ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงความเชื่อไว้ว่า ศรัทธา(น.) ความเชื่อ ความเลื่อมใส(ส.) รศ. ภิญโญ จิตต์ธรรม กล่าวว่า ? ความกลัว แลความไม่รู้เป็นเหตุให้เกิดความเชื่อ และความเชื่อก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดศาสนา ? วัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนาคือ แนวทางการประพฤติปฏิบัติตามหลักการ และ คำสั่งสอนของศาสนานั้น ๆ เพื่อหวังความสุขแก่ตน
ความเชื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ทั้งด้านดีและด้านร้ายธรรมดาคนเราจะมีความเชื่อและความไม่เชื่อเป็นของคู่ กัน คือระหว่างความศรัทธา และไม่ศรัทธา คนที่มีจลศรัทธา กับ อจลศรัทธา คือศรัทธาที่หวั่นไหวและศรัทธาที่ มั่นคงไม่หวั่นไหว ดังนั้น การจะกำหนดให้แต่ละบุคคลเชื่ออย่างเดียวกันย่อมทำได้ยาก เพราะความเชื่อที่ให้ผลตรงกันข้ามก็มี และความไม่เชื่อ เกิดผลไปอีกแนวหนึ่งก็มี
ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
• ความเชื่อ
• ความไม่เชื่อ
ความเชื่อแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ เชื่ออย่างมีเหตุผล และเชื่ออย่างไม่มีเหตุผล ความไม่เชื่อได้แก่การปฏิเสธ หรือมีความเห็นเป็นอื่น อันขัดต่อเหตุผลของความเป็นจริงในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวความเชื่อไว้ ๔ อย่างคือ
• กรรมศรัทธา -> เชื่อกรรม
• วิบากศรัทธา -> เชื่อผลกรรม
• กรรมมัสถตาศรัทธา -> เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน
• ตถาคตโพธิศรัทธา -> เชื่อในความรู้ของพระตถาคตคือพระพุทธเจ้า
ความเชื่อ ๑๐ ประการ ในกาลามสูตร
• ไม่ควรเชื่อตามตำรา
• ไม่ควรเชื่อตามที่ได้ยินมา
• ไม่ควรเชื่อเรื่องที่เล่าสืบ ๆ กันมา
• ไม่ควรเชื่อตามครูบาอาจารย์
• ไม่ควรเชื่อคนที่เป็นครูเล่าให้ฟัง
• ไม่ควรเชื่อมงคลตื่นข่าว
• ไม่ควรเชื่อเมื่อมีอามิส (สินจ้างรางวัล) ล่อให้เชื่อ
• ไม่ควรเชื่อที่เขาแนะนำให้เชื่อ
• ไม่ควรเชื่อโดยเขาบังคับให้เชื่อ
• ไม่ควรเชื่อที่เขาอ้างเหตุให้เชื่อ
พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนา ให้เชื่อด้วยศรัทธาและปัญญาของตน จะเป็นจลศรัทธา ความเชื่อไม่คลอนแคลน ความเชื่อในโลกุตตรธรรม เป็นความเชื่ออันยอดเยี่ยมเพราะจะนำบุคคลผู้เชื่อให้เข้าถึงนวโลกุตตรธรรม คือ มรรค ผล และ นิพพาน อันเป็นความเชื่อชั้นสูงสุด นับเนื่องในตถาคตโพธิศรัทธา ความเชื่อในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความเชื่อนับเป็นพื้นฐานแห่งการนับถือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ และศาสนาอันก่อให้เกิด ประโยชน์ ดังนี้
• ความเชื่อทำให้เกิดความมั่นใจ
• ความเชื่อทำให้เกิดพลัง
• ความเชื่อทำให้เกิดความสามัคคี
• ความเชื่อทำให้เกิดสร้างสรรค์
• ความเชื่อทำให้เกิดรูปธรรม
• ความเชื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา
• ความเชื่อทำให้เกิดการนับถือศาสนาอย่างมั่นคง
• ความเชื่อทำให้เกิดฤทธิ์ทางใจ
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมักเกิดขึ้นจากความคิดคำนึงว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนั้นไม่ดี จะต้องส่งผลกระทบเช่นนั้น เป็นเช่นนี้ ความเชื่อที่ปรากฏเป็นข้อห้ามคำสอนของ โบราณ ย่อมเป็นสิ่งท้าทายต่อดวงปัญญาของมนุษย์ผู้นำสมัยอย่างยิ่ง หากศึกษาให้ ถ่องแท้ จะทราบถึงเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษว่า ข้อห้ามคำสอนนั้นทรงคุณค่าต่อ สังคมเพียงใด
กราบขอบพระคุณ..เจ้าของบทความเดิม พระอาจารย์ศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ
๑๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น